ทฤษฏีโน๊ตสากลเบื้องต้น (Theory of Melody)

บรรทัดห้าเส้น (Staff / Stave)

บรรทัดห้าเส้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการจดบันทึกตัวโน้ต บรรทัดห้าเส้นประกอบด้วย เส้นขนานห้าเส้นที่มีขนาด เท่า ๆ กัน เส้นมีน้ำหนักที่สม่ำเสมอเท่ากันตลอดแนว บรรทัดห้าเส้นประกอบไปด้วย เส้นห้าเส้นและช่องสี่ช่อง การนับบรรทัดนั้นจะนับจากเส้นล่างสุดเป็นเส้นที่ 1 และช่องล่างสุดเป็นช่องที่ 1 เช่นกัน และ จะนับจากขางล่างขึ้นไปหาข้างบน
Staff (Music)
บรรทัดห้าเส้น (Staff)

เส้นน้อย (Leger Lines)

นอกจากนี้บรรทัดห้าเส้น ที่เราใช้วัดระดับเสียงดนตรีนี้ เราใช้ทั้งเส้นและช่อง ถ้ามีระดับเสียงมากกว่าบรรทัด 5 เส้น ก็จะเติมขีดสั้น ๆ ซึ่งขีดนี้อาจ อยู่ข้างบนหรือล่างบรรทัด 5 เส้น และเฉพาะตัวโน้ตที่ต้องการใช้เท่านั้น ขีดสั้นที่เติมนี้ เรียกว่า เส้นน้อย
Leger Lines
เส้นน้อย (Leger Lines)

การบันทึกตัวโน้ต

บรรทัดห้าเส้นนั้นมีไว้สำหรับบันทึกตัวโน้ต โน้ตที่บันทึกลงบรรทัดห้าเส้นจะมีเสียงแตกต่างกันตามลา ดับขั้นของบรรทัดห้าเส้น สำหรับการบันทึกโน้ตลงบรรทัดห้าเส้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การบันทึกโน้ตคาบเส้น และ การบันทึกโน้ตระหว่างเส้น การบันทึกตัวโน้ตลงบรรทัดห้าเส้นจะบันทึกในช่อง หรือคาบเส้น แล้วแต่ลักษณะของเสียง ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของบทเพลง การบันทึกโน้ตลงบรรทัดห้าเส้นทั้งคาบเส้นและในช่อง เราสามารถบันทึกได้ทั้งหมดจำ นวน 9 ตำแหน่งด้วยกัน
การบันทึกตัวโน๊ต
การบันทึกตัวโน๊ต

กุญแจประจำหลัก

กุญแจประจำหลัก หมายถึง ตัวที่จะบอกให้เราได้รู้จัก ชื่อ เสียง และตำแหน่งต่างๆ ของตัวโน้ตที่บันทึกลงบรรทัดห้าเส้น กุญแจประจำ หลักนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียง 3 ชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น กุญแจที่เราจะใช้และพบเห็นมากที่สุด คือ กุญแจซอล การเขียนหัวกญุแจ เริ่มจากเขียนกุญแจลงบนบรรทัดเส้นที่ 2 นับจากข้างล่างขึ้นไปแล้วม้วนตัวขึ้นไปบนเส้นที่ 3 วกกลับลงมา ชนเส้นที่ 1 และม้วนอีกครั้งผ่านเส้นที่ 5 ขึ้นไป แล้ววกกลับลงมาตัดกันที่เส้นที่ 4 จากนั้นลากผ่านลงมาจนกระทั่งถึงใต้เส้นที่ 1
G Clef ชื่อ : กุญแจซอล กุญแจประจำหลัก G (G-clef) ใช้ระบุโน้ต : เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว : ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง
C Clef ชื่อ : กุญแจโด กุญแจประจำหลัก C (C-clef) ใช้ระบุโน้ต : เสียงโดกลาง (middle C) ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว : กึ่งกลางกุญแจโด
F Clef ชื่อ : กุญแจฟา กุญแจประจำหลัก F (F-clef) ใช้ระบุโน้ต : เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว : หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด
การใช้ และ ความแตกต่าง ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรี และ เสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่น เสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่า หรือ ต่ำกว่า ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย (ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรี และ เสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ

ลักษณะตัวโน้ต (Note)

ลักษณะตัวโน้ต (Note) หมายถึง เสียงดนตรีที่มีความสั้นยาว ซึ่งเราเรียกสัญลักษณ์เหล่านี้ว่า ตัวโน้ต ใช้บอกระดับเสียงและความยาวของเสียงดนตรี โดยที่ระดับเสียงดนตรีดูจากตำแหน่งของตัวโน๊ตที่วางอยู่บนบรรทัด 5 เส้น และหากจะเทียบว่าตัวโน๊ตแต่ละตัวเท่ากับกี่จังหวะเราใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) เป็นตัวบอกจังหวะ

สัญลักษณ์แทนความสั้นยาวของเสียงดนตรี ประกอบด้วย

Whole Note โน้ตตัวกลม (Whole Note) มีความยาวเสียงมากที่สุด หรือ มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวขาว 2 ตัว หรือตัวดำ 4 ตัว
Half Note โน้ตตัวขาว (Half Note) มีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของตัวกลม หรือ มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวดำ 2 ตัว
Quarter Note โน้ตตัวดำ (Quarter Note) มีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของตัวขาว หรือ มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว
Eighth Note โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) มีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของตัวดำ หรือ มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว
Sixteenth Note โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth Note) มีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือ มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 3 ชั้น 2 ตัว
* ซึ่งเขบ็ตสามารถเพิ่มได้จนถึง 5 ชั้น

ลักษณะตัวหยุด (Rest)

หมายถึง การหยุดเสียงหรือการทำ ให้เงียบ การหยุดเสียงทางดนตรีเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเพลงบางเพลงต้องการ ให้เงียบเสียงชั่วขณะหนึ่งในเวลาที่จังหวะยังดำเนินอยู่เราใช้สัญลกัษณ์แทนการเงียบเสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวหยุด” ใช้แทนที่ๆ เราต้องการจะหยุดเสียงนั้น ลักษณะตัวหยดุจะมีเท่ากันกับตัวโน้ต ตัวหยุดโน้ตตัวกลม มีค่าความเงียบเสียงมากที่สุด, ตัวหยุดโน้ตตัวขาว มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวกลม, ตัวหยุดโน้ตตัวดำ มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวขาว, ตัวหยุดโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยดุตัวดำ, ตัวหยุดโน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวเขบ็ต 1 ชั้น
Sixteenth Rest ตัวหยุดโน๊ตตัวกลม (Whole Rest) มีค่าความเงียบเสียงมากที่สุด
Half Rest ตัวหยุดโน๊ตตัวขาว (Half Rest) มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวกลม
Quarter Rest ตัวหยุดโน๊ตตัวดำ (Quarter Rest) มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวขาว
Eighth Rest ตัวหยุดโน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Rest) มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวดำ
Sixteenth Rest ตัวหยุดโน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth Rest) มีค่าความเงียบเสียงครึ่งหนึ่งของตัวหยุดตัวเขบ็ต 1 ชั้น
ให้โน้ตตัวกลม เป็นโน้ตที่มีค่าเต็ม ค่าความยาวของเสียงจะเทียบได้ Time Signature
ให้โน้ตตัวหยุดโน้ตตัวกลม เป็นโน้ตที่มีค่าเต็ม ค่าความเงียบของเสียงจะเทียบได้ Rest
แผนภูมิการกระจายตัวโน๊ตออกเป็นโน๊ตต่างๆ โดยยึดถือค่าตัวโน้ตตัวกลมเป็นหลัก
Rest
แผนภูมิการกระจายตัวโน๊ต

บันไดเสียง

หมายถึง โน้ต 7 ตัว ชื่อ 8 เสียง นำมาเรียงกันตามลำดับจากต่ำไปหาสูง หรือจากสูงไปหาต่ำ บันไดเสียงซีเมเจอร์ ประกอบด้วยโน้ตต่อไปนี้ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด สังเกตว่าบันไดขึ้นต้นด้วยตัว โด และจบลงที่ตัว โด หรือ ตัวของมันเอง บันไดเสียงซีเมเจอร์นี้ไม่ได้มีความสำคัญเพียง 7 หรือ 8 เสียงเท่านั้น ยังมีการบ่งบอกระยะของเสียงด้วย ระยะของเสียงจะมี ความห่างของเสียง คือ ครึ่งเสียงกับหนึ่งเสียงเต็ม ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์นี้ จะมีครึ่งเสียงกับหนึ่งเสียงที่ระยะโน้ตตัวที่ 3-4 และ 7-8 จะมีความห่างเพียงครึ่งเสียง โดยที่ระหว่างโน้ตตัวที่ 1-2 , 2-3 , 4-5 , 6-7 จะมีระยะห่างของเสียงหนึ่งเสียงเต็ม กล่าวคือระหว่าง โน้ตตัว มี-ฟา กับ ที –โด จะมีความห่างครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัว โด-เร , เร-มี , ฟา-ซอล , ซอล-ลา , ลา-ที จะมีความห่างหนึ่งเสียงเต็ม
Scales
C Major Scale
C major scale on guitar
** สัญลักษณ์แทนเสียง หมายถึง โน้ตบันไดเสียงประกอบด้วยโน้ต 7 หรือ 8 เสียง คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือ C D E F G A B C